คู่มือ Fatal Fury: City of the Wolves สำหรับผู้เล่นมือใหม่
ถ้าคุณเป็นชาวอเมริกัน คุณอาจจะไม่เข้าใจว่า Fatal Fury: City of the Wolves เป็นเรื่องใหญ่ยังไง หรือคงไม่เข้าใจว่าทำไมคนถึงตื่นเต้นกับการกลับมาของ SNK เมื่อไม่นานมานี้
SNK เป็นหนึ่งในผู้พัฒนาเกมการต่อสู้คนแรกๆ และโดยทั่วไปแล้ว เกมแนวนี้มักจะขึ้นอยู่กับความเร็วที่ต่อเนื่อง เกมดังๆ ส่วนใหญ่ในแนวนี้มีประวัติยาวนานถึง 30 ปีแล้ว (หรือนานกว่านั้น) ย้อนไปตั้งแต่สมัยรุ่งเรืองของยุคเกมตู้อาร์เคด
ในขณะที่ผู้เล่นเกมจากยุคตู้อาร์เคดในญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ เม็กซิโก และบราซิลเติบโตมากับ The King of Fighters (โดยเฉพาะในปี 1998) และ SAMURAI SHODOWN ผู้เล่นชาวอเมริกันอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อเกมพวกนี้ด้วยซ้ำ เกมของ SNK ไม่เคยเป็นที่นิยมในอเมริกันเหนือในแบบที่ Street Fighter หรือ Mortal Kombat ทำได้
ไม่ได้มีเหตุผลไหนเป็นพิเศษที่ทำให้อเมริกาไม่ค่อยรู้จัก SNK ในช่วงยุครุ่งเรือง SNK พึ่งพาฮาร์ดแวร์เฉพาะตัวเป็นอย่างมาก อย่างเครื่องคอนโซล Neo Geo ตู้เล่นหลายเกมที่จดทะเบียนการค้า และรู้กันดีว่าราคาแพง และ SNK เองก็ไม่เคยโอบรับยุคสามมิติขนาดนั้น เว้นแค่เกมที่หลุดจากธีมไม่กี่เกมอย่าง Fatal Fury: Wild Ambition และค่ายก็พอร์ตเกมแค่ไม่กี่เกมลงเครื่องคอนโซลอื่นๆ สิ่งเหล่านี้ทับถมกันเรื่อยๆ ตลอดช่วงปี 1990 พร้อมกับการพัฒนาของอุตสาหกรรม จนนำมาสู่การล้มละลายของ SNK ในปี 2000 หลังจากผ่านมา 15 ปี ชื่อและตำนานของ SNK ก็ได้รับการดัดแปลงหลายครั้ง จนกระทั่งการกลับมาอย่างยิ่งใหญ่ในปี 2016 ด้วย The King of Fighters XIV
ก่อนที่ค่ายจะปิดตัวลง SNK ในเวอร์ชันดั้งเดิมได้ปล่อยเกมที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดนับจากแค็ตตาล็อกเกมทั้งหมด ซึ่งรวมถึง Garou: Mark of the Wolves ในปี 1999 ที่ (จนถึงตอนนี้) นับว่าเป็นภาคสุดท้ายของซีรีส์ Fatal Fury
ปัจจุบันนี้ Fatal Fury น่าจะได้ชื่อว่าเป็นแฟรนไชส์บ้านเกิดของ Terry Bogard และ Geese Howard ที่ทั้งคู่ต่างตอกย้ำถึงชื่อเสียงของตนผ่านการปรากฏตัวสั้นๆ ในซีรีส์อื่นๆ Terry เพิ่งได้เป็น DLC สำหรับ Street Fighter 6 เป็นตัวแทน SNK ใน Super Smash Bros. Ultimate และเคยปรากฏตัวในเกมอื่นๆ อยู่บ้าง เช่น Fighting EX Layer ส่วน Geese ก็เป็นนักสู้รับเชิญที่ถูกเลือกให้เข้าร่วมทัวร์นาเมนต์อยู่บ่อยครั้งใน Tekken 7
อย่างไรก็ตาม ย้อนกลับไปในสมัยนั้น Fatal Fury นับเป็นเกมต่อสู้ขึ้นชื่อของ SNK ที่สร้างโดยมือเก๋าหลายคนจาก Street Fighter II ของ Capcom ตอนแรก เกมนี้วางจำหน่ายครั้งแรกในชื่อ Garou Densetsu ("ตำนานหมาป่าผู้หิวโซ") ที่ญี่ปุ่น โดยซีรีส์เริ่มขึ้นด้วยเส้นทางการแก้แค้นคนที่พรากชีวิตพ่อของ Terry ในสมัยเด็กอย่าง Geese
หลังจากฝึกฝนมาทั้งชีวิต Terry จึงเดินทางกลับมายังบ้านเกิดที่ South Town เพื่อเข้าร่วมทัวร์นาเมนต์ King of Fighters เคียงข้างน้องชาย Andy และเพื่อนซี้ Joe Higashi Terry ได้สิทธิ์เผชิญหน้ากับ Geese ในรอบชิงชนะเลิศของการแข่งขัน หลังจากการต่อสู้อันดุเดือด เขาก็ต่อย Geese จนร่วงหล่นจากหลังคาบนตึกระฟ้าของตัวเอง
Mark of the Wolves ดำเนินเรื่องราวหลังจากหนึ่งทศวรรษให้หลัง Terry ใช้เวลาหลายปีที่ผ่านมาในฐานะพ่อบุญธรรมของ Rock ซึ่งเป็นลูกชายของ Geese คอยเลี้ยงดูเขาใน South Town และสอนการศิลปะการต่อสู้บางส่วนที่เป็นสไตล์ของ Terry ให้ เมื่อบุคคลลึกลับประกาศว่าทัวร์นาเมนต์ King of Fighters ที่ถูกยกเลิกไปนานแล้วจะกลับมาอีกครั้ง Terry และ Rock จึงเลือกเข้าร่วมการแข่งขัน
สิ่งที่น่าสังเกตสำหรับผู้ติดตามใหม่ๆ ในจุดนี้ก็คือ แม้ว่าจะมีการใช้ชื่อทัวร์นาเมนต์ร่วมกัน แต่แฟรนไชส์ The King of Fighters ของ SNK ดำเนินเส้นเรื่องของตัวเอง Geese จึงยังมีชีวิตอยู่ใน The King of Fighters แม้ว่าจะตายไปนานแล้วใน City of the Wolves และเป็นเหตุผลว่าทำไมทีม KOF จาก Art of Fighting ถึงเด็กกว่าอายุที่ควรเป็นถึง 20 ปี
"KOF อยู่ในคนละมิติกับ Fatal Fury และ Art of Fighting" ผู้อำนวยการ Yasuyuki Oda บอกเราในการสัมภาษณ์ครั้งล่าสุด "ในจักรวาล KOF ตัวละครจะไม่แก่ลงเลย"
เดิมแล้ว Oda ทำงานที่ SNK ช่วงปี 1993 ถึง 2000 ในฐานะนักพัฒนาเกมสู้หลายๆ เกมให้บริษัท อย่าง Fatal Fury Special Oda ย้ายไปทำงานให้บริษัทพัฒนาเกมสัญชาติญี่ปุ่นชื่อดังอย่าง Dimps ถึง 14 ปี และมีส่วนร่วมในเกมอย่าง Street Fighter IV ก่อนจะกลับมาสู่ SNK หลังจากที่บริษัทพัฒนาเกมรายนี้หวนคืนวงการในปี 2014 มีรายงานว่า Fatal Fury: City of the Wolves เป็นโปรเจ็กต์ที่ Oda พยายามทำนับตั้งแต่เขากลับมาที่ SNK
อันที่จริงแล้ว ภาคต่อของ MOTW ยังอยู่ระหว่างการสร้างในปี 2000 แต่การผลิตต้องยุติลงเมื่อ SNK ล้มละลาย ในช่วงเวลาอย่างน้อย 20 ปี แฟนๆ ได้ส่งต่อภาพคอนเซ็ปต์อาร์ตที่หลุดมา และลือกันว่ามาจากโปรเจกต์ "Garou 2" ที่ว่า เมื่อ City of the Wolves ได้รับการยืนยันแล้ว เราเลยไม่อยากพลาดโอกาสในการ Oda ถึงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในตอนนั้น
"ตอนนั้นภาคต่อของ Mark of the Wolves กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา" Oda กล่าว "แต่เพราะมันผ่านมานานมากแล้วนับตั้งแต่ภาคสุดท้ายของซีรีส์ ถ้าเราจะสร้างภาคต่อจากภาคนั้นก็คงยาก และผู้เล่นส่วนใหญ่คงต้องทำความเข้าใจเนื้อเรื่องอีกมาก พอเป็นแบบนี้ เราเลยทำ Fatal Fury: City of the Wolves ให้เป็นภาคต่อของซีรีส์ Fatal Fury ในภาพรวม โดยยังอิงถึงภาคต่อของ Mark of the Wolves ไปด้วย"
ในตอนจบของ Mark of the Wolves Rock ชนะทัวร์นาเมนต์ใหม่ และได้พบกับ Kain Heinlein ซึ่งเป็นผู้จัดงาน Kain เปิดเผยว่า Marie ซึ่งเป็นคุณแม่ผู้ล่วงลับของ Rock เป็นพี่สาวของเขา และเขาจัดทัวร์นาเมนต์ เพราะพยายามที่จะยึดครอง South Town สิ่งที่สำคัญกว่านั้น คือ Kain บอก Rock ว่า Marie ยังมีชีวิตอยู่ และถูกกักขังโดยคู่แข่งไม่ทราบชื่อที่อยู่ที่ไหนสักแห่งใน South Town และ Fatal Fury: City of the Wolves จะดำเนินเรื่องราวหลังจากนั้นไม่นาน
"คราวนี้ เนื้อเรื่องจะมาจากมุม Rock เป็นหลัก" Yasuyuki Oda ผู้อำนวยการเล่าให้เราฟัง "หลังจากที่ Geese ตายไป Kain และคนอื่นๆ ก็เริ่มขยับมาอยู่เบื้องหลังเพื่อยึดครอง South Town
Fatal Fury: City of the Wolves ยังมาพร้อมกับการกลับมาของสมาชิกหลักหลายๆ คนจากแคสต์ของ Fatal Fury อีกด้วย โดยมี Mai Shiranui เป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกหลักใน Fatal Fury: City of the Wolves ส่วน Andy และ Joe ถูกวางไว้ให้ปรากฏตัวในซีซันแรกของ DLC
"แต่ละคนมีศิษย์ของตัวเอง และเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่น่าเคารพ" Oda กล่าว "ทุกคนอยู่ในวัย 30 ซึ่งเป็นช่วงอายุที่ดีที่สุดของนักสู้ พร้อมกับสไตล์การต่อสู้ที่พัฒนาขึ้นเพื่อสะท้อนถึงความเชี่ยวชาญที่เพิ่มมากขึ้น"
"เรายังวางแผนที่จะส่งเสริมการเล่าเรื่องผ่านสื่อออนไลน์ด้วย" Oda กล่าวต่อ "บทนำพากย์โดย Satoshi Hashimoto ซึ่งเคยพากย์เสียงให้ Terry"
Fatal Fury: City of the Wolves วางจำหน่ายวันที่ 24 เมษายนบน Epic Games Store